วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระสะสม หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว ออกวัดสลุด ปี 96

พระผงมีเส้นเกศา หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
ออกวัดสลุด ปี 96 เป็นพระพิมพ์หลวงพ่อโต


พระผง พิมพ์สี่เหลี่ยม หลังปั้มยันต์ มีเส้นเกศา

ออกวัดสลุด ปี2496 หลวงปู่เผือกวัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ

เนื้อหามวลสารเข้มข้น

หลวงปู่เผือก  เป็นพระคณาจารย์ชื่อดังองค์หนึ่ง
ของชาวสมุทรปราการ

วัตถุมงคลที่ท่านได้จัดสร้างมีอยู่มากมายหลายรุ่น
เช่น เหรียญ  รูปหล่อ  พระกริ่ง  พระเนื้อผง
และเครื่องรางของขลังอีกมากมาย
และที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พระผงรุ่นขุดสระ  สร้างในปี พ.ศ.2460-2465
มี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่  พิมพ์เล็ก  และพิมพ์สามเหลี่ยม

พุทธคุณที่โดดเด่นของวัตถุมงคลของหลวงปู่เผือกนั้น
ดีในด้านเมตตา ค้าขาย ความแคล้วคลาดปลอดภัย
จึงทำให้เป็นที่นิยมในหมู่ลูกศิษย์และชาวบ้านในและแวกนั้นที่ได้
มีประสพการณ์จนเป็นที่ประจักษ์แก่บรรดาศิษย์และชาวบ้านแถวนั้น
จึงเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก
จึงได้มีการจัดลำดับความนิยมในวัตถุมงคลของหลวงปู่เผือกได้ดังนี

๑๐ อันดับพระยอดนิยม “หลวงปู่เผือก” วัดกิ่งแก้ว
๑.พระรุ่นขุดสระ ปี ๒๔๖๐-๒๔๖๕ พิมพ์ใหญ่ ราคาหลักแสนต้น ถึงหลักแสนกลาง
๒.พระรุ่นขุดสระ ปี ๒๔๖๐-๒๔๖๕ พิมพ์เล็ก ราคาหลักแสนต้น ถึงหลักแสนกลาง
๓.พระรุ่นขุดสระ ปี ๒๔๖๐-๒๔๖๕ พิมพ์สามเหลี่ยมแจกแม่ครัว ราคาหลักแสนต้น
๔.เหรียญฝาบาตร รุ่นแรก ปี ๒๔๘๑ ราคาหลักแสนต้นขึ้นไป
๕.พระพุทธชินราช พิมพ์สองเดือย อกเลาหน้า-อกเลาหลัง ปี ๒๔๘๕ ราคา ๒ แสนขึ้นไป,
พระพิมพ์สมเด็จรัศมี ฐานสามชั้น เนื้อผง รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ ราคาประมาณ ๒ หมื่นขึ้น
๖.พระพุทธชินราช ปี ๒๔๘๖ อุดใหญ่ หลักหมื่นกลางขึ้นไป (เนื้ออัลปาก้า สวยๆ ขึ้นหลักแสน)
๗.เหรียญสี่เหลี่ยม รุ่น ๒ ปี ๒๔๙๖ หลักหมื่นต้นถึงหลักหมื่นกลาง (เนื้อเงินหลักแสนขึ้นไป)
๘.เหรียญเสมาหลังยันต์ และหลังพระพุทธรูป ปี ๒๔๙๖ หลักหมื่นต้น
๙.พระขุนแผน ปี ๒๔๙๖ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์กลาง หลังยันต์
ราคาหลักหมื่นปลายขึ้นไป (เนื้อสบู่เลือดหลักแสนต้น)
๑๐.นางกวักพิมพ์สี่เหลี่ยม ปี ๒๔๙๖ หลังยันต์
หลักหมื่นต้นถึงหลักหมื่นกลาง (เนื้อสบู่เลือดหลักแสนต้น)
พระพิมพ์สมเด็จเก้าชั้นอกวี หลังยันต์ ปี ๒๔๙๖
หลักหมื่นต้นถึงหลักหมื่นกลาง

(หมายเหตุ- ราคาเช่าหาโดยประมาณ ถือเอาสภาพขององค์พระเป็นหลัก)

ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20131027/171386.html

อ้างอิง ภาพประกอบจาก เวปพลังจิต

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระสะสม พระสุนทรีวาณี

พระสุนทรีวาณี
พระสุนทรีวาณี
เป็นพระที่ผมได้มาเพราะความบังเิอิญ เนื่องจากมีคนแก่ได้มอบให้
จากที่ไม่เคยได้รู้จัก เมื่อค้นหาประวัติพระสุนทรีวาณีนี้แล้ว
ก็ทำให้รู้สีกได้ถึงความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมากครับ

ประวัติ..พระสุนทรีวาณี
เป็นพระปางพิเศษ เป็นรูปเทพธิดาทรงอาภรณ์อันงดงามวิจิตร
หัตถ์ขวาแสดงอาการกวัก คือ การเรียกเข้ามาหา
หัตถ์ซ้ายหงายอยู่บนพระเพลา (หน้าตัก)
มีดวงแก้ววิเชียร (เพชร) อยู่ในหัตถ์

พระสุนทรีวาณี เป็นพระซึ่งเกิดจากการนิมิต
แห่งพระคาถาสุนทรีวาณี
ซึ่งเป็นคาถาที่ปรากฎ ในคัมภีร์สัททาวิเสส มี ๓๒ คำ

พระคาถานี้เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์
ผู้ใดเมื่อเรียนพระไตรปิฎก เรียนพระธรรม
เรียนวิชา ภาวนาแล้ว ดับอวิชชา บังเกิดปัญญางาม
ปัญญากลายเป็นสัญญา คือ ความทรงจำอันเลิศล้ำ
โบราณาจารย์ได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ท่องทุกครั้ง
ที่เรียนพระไตรปิฎกตลอดมา

สืบได้ความว่า ผู้ที่ท่องคาถานี้เฉพาะในยุครัตนโกสินทร์
ดำรงสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ๓ พระองค์
เป็นพระสมเด็จ พระราชาคณะ เป็นพระคณาจารย์ผู้มากด้วยเมตตา

คาถาพระสุนทรีวาณี

ตั้ง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)


มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี
ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตังมะนัง

ถ้าอยากให้มีผลทางด้านค้าขาย โชคลาภ ให้ภาวนาเพิ่มว่า


เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
โส มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา
สา มานิมา ฤ ฤา ฦ ฦา

(ฤ ฤา ออกเสียงว่า ลึ ลือ / ฦ ฦา ออกเสียงว่า รึ รือ)

 อนึ่ง พระสุนทรีวาณี เป็นพระที่ทรงไว้ด้วยความเมตตาอย่างสูง
เป็นพระที่เป็นสิริมงคลมหาลาภต่างๆ จึงเหมาะแก่ห้างร้าน บริษัท
และร้านค้าทั่วจะมีไว้บูชาเพื่อเจริญด้วยลาภ ยศ ความสุข สรรเสริญ
ตลอดจนการเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานของตน

พระคาถานี้บริกรรมจึงพบความอัศจรรย์ว่า
“ผู้ใดปัญญาดี จะสามารถเรียนวิชาทุกประการ และจำได้แม่นยำ
ผู้ใดปัญญาไม่ดีนัก บริกรรมแล้วจะเป็นวาสนามหานิยม”



สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวัฑฒโน)
อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ ของวัดสุทัศนเทพวราราม
ภาวนาแล้วเกิดเป็นนิมิต จึงให้จิตรกรหลวงเขียนภาพนิมิตนั้น
แล้วตั้งบูชาที่หัวนอน

ครั้นต่อมารัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรป
จึงเสด็จไปกราบสมเด็จพระวันรัต (แดง) แล้วออกพระโอษฐ์ ว่า...
“โยมจะไปเจริญสัมพันธไมตรีต่างประเทศ
มิเช่นนั้นชาวต่างชาติจะล่าอาณานิคม
โยมมีความกังวลใจ ๒ เรื่อง คือ การฝ่าอันตรายในการเดินทาง
และเกรงว่าการเจริญสัมพันธไมตรีจักไม่สำเร็จ
พระคุณท่านมีอะไรให้โยมติดตัวไปบ้าง”
เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงตรัสอย่างนี้แล้ว สมเด็จพระวันรัต (แดง) เข้ากุฏิ
แล้วเขียนพระคาถาสุนทรีวาณีถวาย
ทั้งได้ถวายพระพรว่า “ถ้ามหาบพิตรเกิดความกังวลพระทัย
ในสองประการ ขอจงจำเริญบริกรรมคาถาด้วยศรัทธา สติ สมาธิ
ก็จะเกิดองค์ฌาน สมาบัติ พระราชกิจจะสำเร็จดังพระราชฤทัย”
       เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับสยามประเทศ
ได้เสด็จไปนมัสการสมเด็จพระวันรัต (แดง)
แล้วตรัสเล่าว่า “พระคาถาสุนทรีวาณีนี้ศักดิ์สิทธิ์
โยมบริกรรม เวลาเหยียบเรือรบฝรั่ง
ขนาดใหญ่ ก็บริกรรม พอเท้าแตะเรือรบ เกิดสะเทือนยาบยวบทั้้งลำเรือ
พวกฝรั่งตกใจมาก ต่อมาฝรั่งเอาม้าเทศมาให้ขี่
รู้ทีเดียวว่าม้ากับคนไม่คุ้นกันก็จะพยศและสะบัด
ฝรั่งจะทำให้อับอายขายหน้า โยมจึงขอหญ้าหนึ่งกำมือ
บริกรรมคาถาแล้วให้ม้ากิน ม้ามันเชื่อง บังคับง่าย
เป็นที่อัศจรรย์ใจของฝรั่ง (ม้าตัวนั้นก็คือม้าตัวที่ทรงที่บรมราชานุสาวรีย์
หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้เอง จึงเป็นม้าที่ยืนด้วยความเชื่อง
มิใช่เลียนอนุสาวรีย์แบบฝรั่งสร้างทั่วไป)

จึงได้ตรัสว่าคาถานี้ศักดิ์สิทธิ์  เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงตรัสแล้ว
จึงถามประวัติพระคาถา สมเด็จพระวันรัต (แดง)
ถวายพระพรเล่าที่มาแล้ว จึงอัญเชิญเสด็จเข้าในกุฏิ
ให้ทอดพระเนตรภาพจิตรกรรมพระสุนทรีวาณี
พระพุทธเจ้าหลวงทรงเลื่อมใสยิ่ง
จึงออกพระโอษฐ์ยืมไปบูชาเป็นเวลา ๕ ปี

       จนเมื่อสมเด็จพระวันรัต (แดง) อาพาธ ก่อนมรณภาพ
จึงขอพระราชทานคืนวัด
ปัจจุบันประดิษฐานที่ พระตำหนัก (คณะ ๖) วัดสุทัศนเทพวราราม
ได้มีการสร้างเหรียญ และเหรียญหล่อแล้วหลายครั้ง
พร้อมกับหล่อองค์บูชาขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว ไว้ด้วย

สำหรับ พระสงฆ์ที่บริกรรมพระคาถานี้ในยุครัตนโกสินทร์  
คือสมเด็จพระสังฆราช (สุก) เสกข้าวให้ไก่ป่ากินไก่ป่ายังเชื่อง
สมเด็จพระวันรัต (แดง)
สมเด็จพระสังฆราช (แพ)
สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศฯ
พระวิสุทธาธิบดี (ไสว) วัดไตรมิตรวิทยาราม
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดไร่ขิง ท่านเขียนจิตรกรรมไว้ที่วัดไร่ขิงด้วย
พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง) เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี รูปปัจจุบัน
หลวงพ่อทอง จังหวัดสงขลา
หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี
หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
 พระคณาจารย์สายวัดสุทัศน์ฯ
เมื่อจะเข้าสู่การบริกรรมเสกวัตถุมงคลและลงอักขระ เลขยันต์
ก็บริกรรมคาถาพระสุนทรีวาณี ทุกรูปไป

พระคาถาสุนทรีวาณี

มุนินทะ วะทะนัมพุชะ        
คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี
ปาณีนัง สะระณัง วาณี       
มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง ฯ

       “ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนานางฟ้า คือพระไตรปิฎก
ผู้มีรูปอันงาม เกิดแต่ท้องประทุมชาติ คือพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย มะนัง ขอจงมาสู่มโนของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจะปฏิบัติละเสียซึ่งอาสวะกิเลส ที่ดองอยู่ในสันดานของข้าพเจ้า
ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง  และอย่างละเอียดให้สิ้นไปเสื่อมไป
ข้าพเจ้าจะไม่ทำให้เป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่ทำให้ลำบากแก่สังขาร”

 ที่มา เวปwww.katitham.com (พระราชวิจิตรปฏิภาณ)
                                             ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม
                                                   วัดสุทัศนเทพวราราม
                                                     กรุงเทพมหานคร



ที่มา เวปพลังจิต

พระสะสม หลวงพ่อโสธร ปี 2497 พิมพ์พระสมเด็จ

ด้านหน้าหลวงพ่อโสธร พิมพ์พระสมเด็จ เนื้อผงพุทธคุณ ปี 2497

ด้านหลังหลวงพ่อโสธร พิมพ์พระสมเด็จ เนื้อผงพุทธคุณ ปี 2497

หลวงพ่อโสธร พิมพ์พระสมเด็จ เนื้อผงพุทธคุณ ปี 2497
วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา

เนื้อมวลสาร เหมือนพระสมเด็จวัดระฆังมากครับ
สภาพสวยมาก เก่าเก็บ

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พระสะสม เหรียญศักราช เนื้อกะไหล่ทองลงยา

พระเหรียญศักราช เนื้อกะไหล่ทองลงยาปี2552

พระเหรียญ พระศักราช เนื้อกะไหล่ทองลงยา สีเขียวมรกต
พระดี พิธีใหญ่ พุทธคุณคุมได้ตลอดปีศักราช (ทั้ง 12 นักษัตร)

พระพิธีใหญ่ เกจิดัง ได้แก่
หลวงปู่ทิมวัดพระขาว
หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน
หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน
หลวงพ่อรวย วัดตะโก


พระสะสม พระสมเด็จหลวงปู่ทิม ออกวัดไผ่ล้อม

พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลวงปู่ทิมปลุกเสกออกวัดไผ่ล้อม
ผมตามเก็บสะสมไว้ 3 องค์ครับ สภาพพระสวยครับ
2 องค์มีคราบกรุด้วยครับ อีกองค์ไม่ได้คงไม่ได้ฝังกรุ
สนใจติดต่อได้นะครับ



ประวัติการจัดสร้างพระสมเด็จ2513 วัดไผ่ล้อม ระยอง กรุวัดราษฏรบูรณะ เนื้อผง 
ปลุกเสกเมื่อวันเสาร์ 5 พศ.2513
โดยได้นิมนต์เกจิที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นมาปลุกเสก 9 รูป
เช่น ลป.ทิม วัดละหารไร่,ลพ.คง วัดวังสรรพรส,
ลพ.ลัด วัดหนองกระบอก,ลพ.รวย วัดท่าเรือแกลง,
ลพ.ชื่น วัดมาบข่า,ลพ.ตุง วัดเพ,พระสมุห์จำปี วัดไผ่ล้อม,
ลพ.สละ วัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา,ลพ.ชาย วัดแม่นางปลื้ม

โดยเฉพาะ ลป.ทิม วัดละหารไร่ ได้เมตตาปลุกเสกให้ถึง 2 ครั้ง
ประวัติพระเครื่องวัดไผ่ล้อม อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ ระยอง เป็นเจ้าพิธีปลุกเสก ปี พ.ศ.2513
เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาของวัดไผ่ล้อมในปี พ.ศ.2514
แต่มีส่วนหนึ่งนำเข้ากรุงเทพโดยท่านจำปี นำมาบอกบุญที่ วัดราษฏ์บูรณะ และก็มีเหลืออีก
ท่านจึงนำบรรจุกรุที่ฐานพระประธานในกุฏิ พระอาจารย์จำปี วิปุโล(จำรัสแสง)
จนปี พ.ศ.2555ได้มีการซ่อมแซมจึงทำให้พบกรุฐานพระประธานในกุฏิแตก
นำออกมาร่วมทำบุญซ่อมแซมเสนาศนะ

กล่าวถึงปี พ.ศ.2513 ในครั้งเริ่มแรก พระอาจารย์จำปี วิปุโล(จำรัสแสง)
ได้รับมอบหมายจาก พระอาจารย์พูน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ต.บ้านค่าย อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

ให้เริ่มทำการสะสมว่านนานาชนิด มีทั้งว่านประเภทคงกระพันชาตรี, เมตตามหานิยม,
ป้องกันสัตว์ร้ายเขี้ยวงาทุกชนิด แร่ธาตุต่างๆหลายชนิด มีแร่บังขนิฏสีเขียว, สีดำ, สีมันปู,
แร่ดอกมะขาม จ.กาญจนบุรี, แร่พลวงเงิน, แร่พลวงทอง, พลอยจันทบุรี สีนิล,
ชินปรอทสังฆวานร, โมราท้องรุ้ง, เสาตะลุงช้างเผือก, กระดูกหัวกะโหลกช้างทรง,
เพชรน้ำค้าง, ศิลาน้ำค้าง, เหล็กทรหด, เหล็กน้ำพี้,เหล็กยอดเจดีย์, สัมฤทธิ์,
ข้าวตอกพระร่วง, ข้าวสุกลอยน้ำ, ข้าวสารดำ, ข้าวรอดเพชรหลีก, ไคลประตูเมือง,
ไคลเจดีย์,ไคลเสมา9 แห่ง, ดินโป่ง 9 โป่ง 9 สี, ดินบริสุทธิ์ กลางมหาสมุทร,
ดินกรุซุ้มกอทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร, ดินกรุสุโขทัย, ดินกรุอยุธยา, ดินท่า 9 ท่า,
อีกทั้งยังได้เก็บรวบรวมผงพระเครื่องต่างๆทุกยุคทุกสมัยที่ชำรุด มีสมัยเชียงแสน,
สุโขทัย, อู่ทอง, ลพบุรี, พิจิตร, พิษณุโลก, กำแพงเพชร, สุพรรณบุรี,
อยุธยา,รัตนโกสินทร์, ผงพระ 25 พุทธศตวรรษ
ส่วนผงวิเศษต่างๆที่เก็บสะสมไว้อีกมากมาย
เช่นผงปฐมอักขระ,ผงไตรสรณาคม, ผงพระพุทธคุณ, พระธรรมคุณ, พระสังฆคุณ,
ผงพระเจ้า ห้าพระองค์, ผงพระเจ้า 16 พระองค์, ผงตรีนิสิงเห, ผงอิทธิเจ,
ผงปถมัง, ผงมหาราช, ผงสังตโลก, ผงมหาอุตม์หลวงพ่อวงศ์,
ผงพระเกสรหลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย, ผงพระสมเด็จวัดระฆังที่หลวงปู่นาคมอบให้,
ผงเก่าและสีผึ้งเขียว ของหลวงปู่ทาบ วัดกระบกขึ้นผึ้ง ระยอง,
ผงหลวงพ่อเพ่ง วัดละหารใหญ่ ระยอง, ผงพญางิ้วดำ, กาฝาก, กาหลง,
กาฝากรักซ้อน, กาฝากมะยม, กาฝากมะรุม, กาฝากมะขาม, กาฝากมะนาว,
กาฝากลั่นทม, เถาวัลย์หลง, เครือสาวหลง, ว่านสาวหลง, ไม้รู้นอนเก้าอย่าง,
ยอดรัก, ยอดสวาท, กัลปังหา, ทรายเงิน, ทรายทอง, ว่าน 108,
เกสรดอกไม้108, น้ำมนต์บ่อขุนไกรอันศักดิ์สิทธิ์ จึงได้นำมาผสมสร้างเป็นองค์พระ

ก่อนที่จะเริ่มกดพิมพ์พระ ได้ทำพิธีบวงสรวงเทพเทวา ครูบาอาจารย์เสร็จแล้วจึงกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์
โดยพระอาจารย์จำปี วิปุโล เมื่อวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา
ตรงกับวันที่ 22 มีนาคม 2512 เวลา 09.09 น.ในราศีเมษ
มหัทธโนแห่งฤกษ์ คือฤกษ์ที่มั่งคั่งสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สินเงินทองและเทพเทวารักษาดี
เมื่อพิมพ์พระเสร็จแล้ว ก็ได้ทำพิธีปลุกเสก โดยพระอาจารย์จำปี วิปุโล
ได้นิมนต์พระภิกษุภายในวัดมาร่วมสวดบริกรรมพระปริต
มีพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณพระ 5 รูปสวดพระธรรมจักร 108 ตลอดคืน
รวม 15 คืน เริ่มปลุกเสกเมื่อวันเสาร์แรม 5 ค่ำเดือน 9 อยู่ในพรรษา
ตรงกับวันที่ 22 สิงหาคม 2513 จนถึงวันที่ 5 กันยายน 2513
ซึ่งตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ รวม 15 คืน
เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างมาก เพราะว่าการทำพิธีครั้งนี้ตรงกับวันเสาร์ 5 ทั้งหมด
คือตั้งแต่เริ่มพิมพ์ เริ่มปลุกเสก และวันสุดท้ายที่ปลุกเสกเดี่ยว ก็ตรงกับวันเสาร์อีกเช่นกัน
ที่น่าอัศจรรย์อีกอย่างก็คือเมื่อทำพิธีปลุกเสกถึงเวลาตีห้าดับเทียนชัย
ได้มีฝนตกซู่ลงมาประมาณ 1 นาที แล้วก็หยุดตกซึ่งจะเป็นอย่างนี้ทุกคืน
วัตถุมงคลที่จัดสร้างในครั้งนี้ได้ทำพิธีปลุกเสกใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
โดยนิมนต์พระคณาจารย์ที่มีอาคมขลังขมังเวท 9 รูป
นั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกตลอดคืน ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
หลวงปู่ทิม(พระครูภาวนาภิรัติ) วัดละหารไร่ จ.ระยอง,
หลวงพ่อลัด(พระวิจิตร) วัดหนองกระบอก จ.ระยอง,
หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า จ.ระยอง, หลวงพ่อโต่ง วัดบ้านเพ จ.ระยอง,
หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ จ.ระยอง, หลวงพ่อหอม วัดชากหมากป่าเรไร จ.ระยอง,
หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี, หลวงพ่อสมชาย วัดแม่นางปลื้ม จ.อยุธยา,
หลวงพ่อสละ วัดประดู่ทรงธรรม จ.อยุธยา
มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างมากในการปลุกเสกพระเครื่องครั้งนี้
คือ ขณะที่หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ นั่งบริกรรมภาวนาอยู่นั้น ช่างภาพถ่ายรูปไม่ติด
คือแฟลชไม่ขึ้น ถ่ายอยู่หลายครั้งก็ไม่สำเร็จผล ต้องขออนุญาตท่านก่อนจึงได้ถ่ายติด
ในระหว่างที่หลวงปู่ทิม นั่งบริกรรมภาวนาอยู่นั้น ถ้าท่านหลับตาลงครั้งใด ไฟฟ้าจะดับทันที
 เป็นอย่างนี้ถึง 3 ครั้ง ดังนั้นท่านจึงต้องบริกรรมภาวนาลืมตาตลอดคืน
ไม่ได้พักเลย จนกว่าเสร็จพิธีคือสว่าง (ในวันที่ทำพิธีปลุกเสกนั้นได้เริ่มพิธีตั้งแต่ 18.00 น.
จนถึง 22.00 น. หลังจากนั้นพระเกจิอาจารย์ทั้งแปดรูปก็ได้กลับวัด
เหลือแต่หลวงปู่ทิมที่ยังไม่ได้กลับ หลังจากนั่งพักผ่อนไม่นาน
หลวงปู่ทิมจึงได้ก้าวขึ้นไปนั่งบนธรรมมาสน์อีกครั้ง ได้เริ่มนั่งปลุกเสกเดี่ยวต่อไป)

ที่มา ข้อมูลอินเตอร์เน็ท
ภาพประกอบ ปกหนังสือจากชมรมคนรักมีด